เที่ยวทิพย์

ฉีดวัคซีน HPV ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

ฉีดวัคซีน HPV ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี นับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย และทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งร้ายที่พบได้บ่อยในผู้หญิงไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม และเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน ดังนั้น ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงการป้องกันเชื้อไวรัส HPVด้วยการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

สาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกคือ การติดเชื้อ HPV (Human papilloma virus) ชนิดก่อมะเร็ง  โดยการติดเชื้อ HPV จะพบบ่อยที่สุดในผู้หญิงช่วงอายุ 18-28 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว  ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้

มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้

มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้

วัคซีน HPV คือ วัคซีนที่ใช้ป้องกันเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง โดยวัคซีน HPV จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยจะเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นทางเลือกของการเสริมภูมิคุ้มกัน โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

  • วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ คือ วัคซีนที่ป้องกันเชื้อไวรัส HPV ได้ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้
  • วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ คือ วัคซีนที่ป้องกันเชื้อไวรัส HPV ได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 ซึ่งสายพันธุ์ 6 และ 11 ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ได้
  • วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่พัฒนามาจากวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV 9 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58

วัคซีน HPV ไม่เพียงแต่ป้องกันมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึง มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนักและหูดหงอนไก่การฉีดวัคซีน HPV ไม่เพียงช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ยังลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสของอีกหลายโรคด้วย เช่น หูดหงอนไก่ หรือมะเร็งทวารหนัก

ข้อห้ามของการฉีดวัคซีน HPV

ข้อห้ามของการฉีดวัคซีน HPV

ห้ามฉีดในคนที่แพ้ยีสต์ แพ้ขนมปัง คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น กำลังทำเคมีบำบัด เพราะจะทำให้การกระตุ้นภูมิไม่ได้ผล รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยหรือติดเชื้อ ก็ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนนี้ไปก่อน เช่นเดียวกับคนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนในช่วงนี้ไปก่อนเช่นกัน

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

ในการฉีดวัคซีน HPV เข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเพียงอาการเหมือนกับการได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น บวมแดงบริเวณที่ฉีด หรืออาจมีไข้ต่ำๆในบางราย 

ผู้หญิงที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงต้องป้องกันด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบเซลล์ผิดปกติที่เกิดจากเชื้อ HPV และรักษาได้ทันท่วงทีตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม