เที่ยวทิพย์

อยากนอนแต่ก็นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี?

อยากนอนแต่ก็นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี?   

นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน เป็นภาวะนอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ ระหว่างคืน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงและคนชรา อีกอย่างคือด้วยเพราะการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และเต็มไปด้วยความเครียด ก็นับเป็นสาเหตุสำคัญของอาการนอนไม่หลับเช่นกัน แต่สาเหตุของการนอนไม่หลับมีมากกว่านั้น เดี๋ยวแอดมินจะอธิบายให้ฟังกัน

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

โรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ปัจจัยด้านร่างกาย คือ มีอาการเจ็บป่วยจากโรคประจำตัวต่างๆ รวมไปถึงอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน
  • ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีเสียงดังรบกวน แสงในห้องนอนไม่เหมาะสม หรือการทำงานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเวลานอน
  • เกิดภาวะเครียดสะสม วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรือไบโพลาร์
  • แอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดนั้นก็อาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • เกิดความผิดปกติกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจติดขัด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด

โรคที่มากับการนอนน้อย หรืออาการนอนไม่หลับ

โรคที่มากับการนอนน้อย หรืออาการนอนไม่หลับ
  • โรคอ้วน การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนน้อย ทำให้ระบบเจริญเติบโตแปรปรวน ทำให้อิ่มช้า และมีความอยากอาหารที่มีไขมันมากขึ้น
  • โรคเบาหวาน การนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้น
  • โรคหัวใจ อาการนอนไม่หลับทำให้นอนไม่เพียงพอ จะทำให้มีความดันเลือดสูงมากผิดปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากถึง 2 เท่า

นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี

นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี
  • อย่างแรกเลยคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน นอนให้ตรงเวลา เมื่อรู้สึกง่วงจะต้องเข้านอนทันที และควรเข้านอนเวลาประมาณ 4 ทุ่ม และพักผ่อนอย่างน้อย ให้ได้ 7 ชั่วโมง
  • ลดสิ่งรบกวน เช่น ปรับพฤติกรรมการเล่นมือถือ
  • จัดการความเครียดระหว่างวัน โดยหากิจกรรมอื่นผ่อนคลายบ้าง เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ วาดรูป เป็นต้น
  • ก่อนนอนควรทำสมองให้โล่ง ปลอดโปร่ง ไม่นำเรื่องเครียด กดดัน ผิดหวัง หรือเสียใจมาคิด ทำจิตใจให้ผ่อนคลายก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และลดประสิทธิภาพการนอนหลับ
  • ลดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เช่น การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย การแช่น้ำอุ่น
  • จัดที่นอนให้เหมาะสม สบายเหมาะแก่การนอน เงียบสงบ ปรับอุณหภูมิที่เย็นสบายพอเหมาะ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัวจนเกินไป
  • รับประทานวิตามินเสริม ที่มีส่วนช่วยในเรื่องการนอน เช่น เมลาโทนิน เป็นต้น
  • ปรึกษาแพทย์ และตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับให้ชัดเจน
นอนไม่หลับ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิต การนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ในวันต่อมาลดลง โดยปกติแล้วในแต่ละวันคนเราควรนอนหลับเป็นเวลาเฉลี่ย 7 – 9 ชั่วโมง หากเราอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง