เที่ยวทิพย์

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสูงสุด 354 บาทต่อวัน เริ่ม 1 ต.ค. 65

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสูงสุด 354 บาทต่อวัน เริ่ม 1 ต.ค. 65

ค่าแรงขั้นต่ำ นับเป็นตัวเลขสำคัญที่ทำหน้าที่ในการกำหนดรายได้หรือค่าตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างสมควรจะได้รับในแต่ละวัน โดยการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำนี้จะช่วยให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีตัวเลขในการจ่ายค่าแรงที่เป็นมาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเอารัดเอาเปรียบ หรือสร้างภาระในด้านค่าใช้จ่ายให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป ทั้งนี้การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะอยู่ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งจากการประชุมครั้งที่ 8/2565 ได้มีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้าง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รายละเอียดการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

รายละเอียดการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

จากมติที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (ชุดที่ 21) ซึ่งเป็นกรรมการไตรภาคี ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนออัตราค่าแรงขั้นต่ำของปี 2565 ร่วมกับผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ โดยการประชุมในครั้งนี้มีนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้คณะกรรมการมีทั้งหมด 19 ท่าน แบ่งเป็นคณะกรรมการจากฝ่ายรัฐบาล 5 ท่าน ฝ่ายนายจ้าง 4 ท่าน ฝ่ายลูกจ้าง 5 ท่าน และฝ่ายที่ปรึกษา 5 ท่าน การลงมติในที่ประชุมจึงต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อให้มติเป็นไปด้วยความเหมาะสม อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้ลงมติเรื่องค่าแรงขั้นต่ำของ 77 จังหวัด เฉลี่ยที่ 337 บาท โดยจะประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้จากการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดพบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 336 บาท เป็น 354 บาท ได้แก่
    • ชลบุรี
    • ระยอง
    • ภูเก็ต
  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 331 บาท เป็น 353 บาท ได้แก่
    • กรุงเทพมหานคร
    • นนทบุรี
    • นครปฐม
    • ปทุมธานี
    • สมุทรปราการ
    • สมุทรสาคร
  • จังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 330 บาท เป็น 353 บาท ได้แก่
    • ฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 325 บาท เป็น 343 บาท ได้แก่
    • พระนครศรีอยุธยา
  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 325 บาท เป็น 340 บาท ได้แก่
    • ปราจีนบุรี
    • หนองคาย
    • อุบลราชธานี
    • พังงา
    • กระบี่
    • ตราด
    • ขอนแก่น
    • เชียงใหม่
    • สุพรรณบุรี
    • สงขลา
    • สุราษฏร์ธานี
    • นครราชสีมา
    • ลพบุรี
    • สระบุรี
  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 323 บาท เป็น 338 บาท ได้แก่
    • มุกดาหาร
    • กาฬสิทธุ์
    • สกลนคร
    • สมุทรสงคราม
    • จันทบุรี
    • นครนายก
  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 320 บาท เป็น 335 บาท ได้แก่
    • เพชรบูรณ์
    • กาญจนบุรี
    • บึงกาฬ
    • ชัยนาท
    • นครพนม
    • พะเยา
    • สุรินทร์
    • ยโสธร
    • ร้อยเอ็ด
    • เลย
    • พัทลุง
    • อุตรดิตถ์
    • นครสวรรค์
    • ประจวบคีรีขันธ์
    • พิษณุโลก
    • อ่างทอง
    • สระแก้ว
    • บุรีรัมย์
    • เพชรบุรี
  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 315 บาท เป็น 322 บาท ได้แก่
    • มหาสารคาม
    • สิงห์บุรี
    • สตูล
    • แพร่
    • สุโขทัย
    • กำแพงเพชร
    • ราชบุรี
    • ตาก
    • นครศรีธรรมราช
    • ชัยภูมิ
    • ระนอง
    • พิจิตร
  • กลุ่มจังหวัดที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 320 บาท เป็น 328 บาท ได้แก่
    • ยะลา
    • ปัตตานี
    • นราธิวาส
    • น่าน
    • อุดรธานี

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้างในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกจ้างทุกคนสามารถเลี้ยงชีพและบริหารจัดการค่าครองชีพได้ดียิ่งขึ้น ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำจากพิษโควิด ดังนั้นนายจ้างหรือองค์กรต่าง ๆ ควรศึกษาหลักเกณฑ์เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ และดำเนินการให้เหมาะสมทันทีหลังจากการประกาศใช้งาน

แนะนำบทความเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจ 4.0 คืออะไร?