เที่ยวทิพย์

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

ประเภทของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

โรคโควิด-19 ได้มีการแพร่ระบาดมาตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ขึ้นหลายรูปแบบ ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยและคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 แนวทางการรับวัคซีน ไปจนถึงอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว วันนี้แอดมินจึงได้รวบรวมคำถามและคำตอบที่ถูกต้องชัดเจนมาให้ทุกท่านศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และเข้ารับวัคซีนโควิด-19ได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

ประเภทของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

 
ประเภทของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

รัฐบาลไทยได้มีนโยบายให้ประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อเป็นการป้องกันโรคและสร้างภูมิคุ้นกันหมู่ โดยตั้งเป้าหมายในการฉีดวัคซีนโควิด-19ไว้สูงถึงร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด ภายในปี 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้วัคซีนโควิด-19ที่รัฐบาลและเอกชนได้นำเข้ามาให้บริการกับประชาชนมีหลากหลาย และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • Sinovac
    • ประเภทวัคซีน : Inactived Vaccine
    • เทคโนโลยี : ไวรัสเชื้อตาย
    • ช่วงอายุที่แนะนำ : อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค : ยังไม่พบข้อมูล
    • การป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 : อาการเบา ร้อยละ 50.4 อาการปานกลาง ร้อยละ 84 และปป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 100
    • การป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) : มีแนวโน้มว่าป้องกันได้
    • การป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) : มีประสิทธิภาพลดลง
    • จำนวนครั้งในการฉีด : จำนวน 2 ครั้ง (ห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์)
    • การออกฤทธิ์ของวัคซีนโควิด-19 : 2 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
  • AstraZeneca
    • ประเภทวัคซีน : Viral Vector Vaccine
    • เทคโนโลยี : ไวรัสตัวพา
    • ช่วงอายุที่แนะนำ : อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค : ร้อยละ 50
    • การป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 : การติดเชื้อทุกรูปแบบ ร้อยละ 70.4 การติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 90 และป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 100
    • การป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) :  มีแนวโน้มว่าป้องกันได้
    • การป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) :  มีประสิทธิภาพลดลง
    • จำนวนครั้งในการฉีด : จำนวน 2 ครั้ง (ห่างกัน 10 – 12 สัปดาห์)
    • การออกฤทธิ์ของวัคซีนโควิด-19 : 2 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
  • Johnson & Johnson
    • ประเภทวัคซีน : Viral Vector Vaccine
    • เทคโนโลยี : ไวรัสตัวพา
    • ช่วงอายุที่แนะนำ :  อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค : ยังไม่พบข้อมูล
    • การป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 : ติดเชื้อทุกรูปแบบ ร้อยละ 66 ติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 85 และป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 100
    • การป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) : มีแนวโน้มว่าป้องกันได้ 
    • การป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) : มีประสิทธิภาพลดลง
    • จำนวนครั้งในการฉีด : จำนวน 1 ครั้ง 
    • การออกฤทธิ์ของวัคซีนโควิด-19 :  2 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนครบ 1 เข็ม
  • Sputnik V
    • ประเภทวัคซีน : Viral Vector Vaccine
    • เทคโนโลยี : ไวรัสตัวพา
    • ช่วงอายุที่แนะนำ :  อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค : ยังไม่พบข้อมูล
    • การป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 :  ติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 91.6 และป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 100
    • การป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) : ยังไม่ปรากฏข้อมูล
    • การป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) : ยังไม่ปรากฏข้อมูล
    • จำนวนครั้งในการฉีด : จำนวน 2 ครั้ง (ห่างกัน 3 สัปดาห์)
    • การออกฤทธิ์ของวัคซีนโควิด-19 : 2 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 
  • Pfizer
    • ประเภทวัคซีน : mRNA
    • เทคโนโลยี : สารพิเศษ mRNA
    • ช่วงอายุที่แนะนำ :  อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค : ร้อยละ 60
    • การป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 : ติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 95 และป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 100
    • การป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) : มีแนวโน้มว่าป้องกันได้
    • การป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) : มีประสิทธิภาพลดลง
    • จำนวนครั้งในการฉีด : จำนวน 2 ครั้ง (ห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์)
    • การออกฤทธิ์ของวัคซีนโควิด-19 : 2 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 
  • Moderna
    • ประเภทวัคซีน : mRNA
    • เทคโนโลยี : สารพิเศษ mRNA
    • ช่วงอายุที่แนะนำ :  อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค : ยังไม่พบข้อมูล
    • การป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 : ติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 94.1 และป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 100 
    • การป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) : มีแนวโน้มว่าป้องกันได้
    • การป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) : มีประสิทธิภาพลดลง
    • จำนวนครั้งในการฉีด : จำนวน 2 ครั้ง (ห่างกัน 4 สัปดาห์)
    • การออกฤทธิ์ของวัคซีนโควิด-19 :  2 สัปดาห์ หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นทุกท่านจึงควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย งดกิจกรรมที่มีการรวมตัว และเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ