วิกฤตการณ์โควิด-19 เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ และปัญหาด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาหรือด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เผยว่าวิกฤตการณ์โควิด-19 นั้น ส่งผลให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของคนไทยทะยานขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 90.90 ต่อ GDP ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งหากมองในระดับร้อย 80-90 อาจจะยังไม่น่ากังวลใจมากนัก เนื่องจากไม่ใช่การสร้างหนี้ครัวเรือนที่ก่อให้เกิดหนี้ฟุ่มเฟือย ดังนั้นแม้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของคนไทยจะพุ่งสูงแตะร้อยละ 90 ทว่ารัฐบาลยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุน เพื่อช่วยให้ประชาชนมีรายได้ และลดปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาวได้อย่างทันท่วงที
หนี้ครัวเรือน : พิษร้ายจากภัยโควิด-19

ผู้ช่วยผู้อำนายการศูนย์การพยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (นายวิเชียร แก้วสมบัติ) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลสถิติหนี้ครัวเรือนของคนไทย ไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2565 ว่า สถาบันรับฝากเงินและสถาบันการเงินอื่น ๆ มียอดเงินที่ปล่อยให้ภาคครัวเรือนกู้ยืม รวมทั้งหมด 14.64 ล้านล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อค่าจีดีพีแล้ว พบว่าในไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2565 นั้น หนี้ครัวเรือสะสมของคนไทยอยู่ในระดับร้อยละ 89.2 ต่อจีดีพี นับว่าปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตัวเลขในไตรมาสที่ 4 ของปั 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ร้อยละ 90.00 ต่อค่าจีดีพี
ทั้งนี้จากสถิติก่อนหน้าหนี้ครัวเรือนเคยพุ่งทะยานไปถึงร้อยละ 90.0 ต่อจีดีพี ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 ส่งผลให้มีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งทำให้ค่าจีดีพีหดตัว และเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีนายวิเชียรมองว่า สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของประเทศในระดับร้อยละ 80-90 นั้นยังไม่นับเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ภายในสถาบันรับฝากเงินที่มีระบบบริหารจัดการที่มีสุขภาพ และสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นหนี้ในระบบ ซึ่งคาดการณ์หนี้เหล่านี้จะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัวกลับมาดังเดิม
การปรับลดของหนี้ดังกล่าว อาจปรับลดลงมาอยู่ในระดับร้อยละ 80 ภายในระยะเวลา 5 ปี หากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6.2 ต่อปี ทั้งนี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ (นายธนวรรธน์ พลวิชัย) คาดการณ์ว่าหนี้ภายในครัวเรือนจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 89.3 ต่อจีดีพี ในช่วงสิ้นปี 2565 ซึ่งการจะปรับลดหนี้ให้มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 80 ได้นั้น ต้องกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการนั่นคือการสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนกระจายความเจริญด้านต่าง ๆ ไปยังภูมิภาคและต่างจังหวัด เพื่อให้คนในชุมชนสามารถสร้างรายได้ได้เพิ่มมากขึ้น
หากรัฐบาลสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัวจากการลงทุนก็จะช่วยให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนลดน้อยลง นอกจากนี้การหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การให้ความรู้ในการบริหารจัดการหนี้ และการให้ความรู้เรื่องการวางแผนการใช้จ่าย ยังจะช่วยให้ประชาชนมีความรู้เพียงพอในการกู้ยืมเงิน และจัดการภาระหนี้สินอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลให้สถิติหนี้ภายในครัวเรือนลดน้อยลงได้ในระยะยาว
แนะนำบทความเศรษฐกิจ : เช็คสิทธิคนละครึ่งเฟส 5 ไม่ถึงนาทีรู้ผล