เที่ยวทิพย์

โรคเบาหวาน รู้จักและป้องกันได้

โรคเบาหวาน รู้จักและป้องกันได้

โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าค่าปกติอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่น ๆ อย่างตับอ่อน การหลังฮอร์โมนอินซูลินจึงน้อยลง หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้สารดังกล่าวออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ทั้งนี้โรคเบาหวานในปัจจุบันสามารถแบ่งได้หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีอาการ และระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไป วันนี้แอดมินจึงจะขออาสาพาทุกท่านไปศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคเบื้องต้น 

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด

โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด โดยจะแบ่งตามสาเหตุ และกลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรค ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ชนิดที่ 1 มีสาเหตุมาจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน จำเป็นต้องรักษาด้วยการให้ยาอินซูลิน มักพบในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก
  2. ชนิดที่ 2 มีสาเหตุมาจากภาวะดื้ออินซูลิน นับเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด มักพบในวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคดังกล่าว การรักษาสามารถรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะต้องใช้ยาอินซูลิน
  3. ชนิดที่พบขณะตั้งครรภ์ มักจะวินิจฉัยและพบขณะที่มารดาตั้งครรภ์ และจะหายไปเองหลังจากคลอด
  4. ชนิดที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ความผิดปกตอของต่อมไร้ท่อบางชนิด หรืออาจเกิดจากการรับประทานยาที่มีสเตียรอยด์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในโรคร้ายที่พบบ่อยในปัจจุบัน โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย หรือก่อให้เกิดโรคดังกล่าวมีอยู่หลายประการ ซึ่งแอดมินได้รวบรวมมาให้ทุกท่านได้ศึกษา ดังนี้

  • มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เป็นโรคอ้วน หรือรอบเอวเกินมาตรฐาน โดยมาตรฐานเพศชาย คือ 90 เซนติเมตร ส่วนมาตรฐานเพศหญิง คือ 80 เซนติเมตร 
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิต
  • มีประวัติการเป็นเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์
  • มีบิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
  • ระดับไขมันในเลือดมีค่าผิดปกติ กล่าวคือมีระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือมีระดับคอเลสเตอรอล เอสดีแอล < 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ตรวจพบน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารอยู่ที่ 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม ร้อยละ 5.7 – 6.4

ภาวะแทรกซ้อนที่ควรเฝ้าระวัง

ภาวะแทรกซ้อนที่ควรเฝ้าระวัง

การป่วยเป็นโรคเบาหวานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เรื้อรังได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาหาข้อมูลไว้ให้พร้อม ตลอดจนพิจารณาและติดตามอาการของตนเองอย่างใกล้ชิด ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก
    • อาจทำให้ไตวาย
    • เบาหวานขึ้นตา
    • ชาปลายเท้า หรือเจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่ม
  • ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
    • อัมพฤกษ์ อัมพาต
    • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    • หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน จนทำให้เกิดแผลที่เท้าง่าย ส่งผลให้มีโอกาสถูกตัดนิ้ว หรือตัดขาสูง

โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายใกล้ตัวที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน ทั้งนี้สาเหตุการเกิดโรคอาจมาจากพันธุกรรม โรคแทรกซ้อน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทุกท่านควรหมั่นตรวจสุขภาพ และรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือเกิดอาการเจ็บป่วยได้